ฮานาฟูดะ เป็นไพ่ญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่เป็นไพ่เล็ก ๆ มีดอกไม้ ริบบิ้นและสัตว์ติดอยู่ด้วยโดยเกมต้องใช้ผู้เล่น 2 คนขึ้นไป ไพ่ฮานาฟูดะเรียกแบบภาษาไทยว่าไพ่ดอกไม้ในสมัยเอโดะ ญี่ปุ่นมีการปิดประเทศ มีการออกกฎว่าการพนันต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการพนันโดยใช้การ์ดก็ยังมีอยู่อย่างลับ ๆ โดยจะมีการทำการ์ดรูปแบบใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ สำหรับการพนัน เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับ และ ”ฮานาฟูดะ” ก็เป็นหนึ่งในการ์ดเกมที่เกิดขึ้นจากสมัยนั้น“ฮานาฟูดะ” เป็นหนึ่งในการละเล่นที่ใช้การ์ดที่เล่นกันแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่นมาจนถึงปัจจุบัน ความหมายของ “ฮานาฟูดะ” คำว่า “ฮานะ” แปลว่า “ดอกไม้” ส่วนคำว่า “ฟุดะ” คือ “การ์ด/ไพ่” ดังนั้น “ฮานาฟูดะ” จึงเป็นการ์ดที่ประกอบด้วยดอกไม้ ต้นไม้ ใบหญ้า สัตว์ต่าง ๆ ตามฤดูกาลของญี่ปุ่น สำรับไพ่ของฮานาฟูดะประกอบด้วยการ์ดทั้งหมด 48 ใบ โดยใน 48 ใบนี้แบ่งออกเป็น 12 เดือน (มีการ์ด 4 ใบต่อหนึ่งเดือน) การเล่นฮานาฟูดะมีอยู่ 3 แบบคือ โคอิโกอิ ฮานะอาวาเซะ และฮาจิฮาจิ แบบแรกสุดคือเล่นกัน 2 คน ส่วนอย่างหลังทั้งสองอันคือเล่นกัน 3 คนขึ้นไปหลังจากที่สยามได้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ครบทั้ง 6 บรรพเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2477 แล้ว รัฐบาลได้จัดให้มีการประมวลกฎหมายบ้านเมืองฉบับสำคัญ ๆ สืบต่อมาอีก ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กับทั้งได้พยายามใช้การมีกฎหมายอันทันสมัยทัดเทียมนานาอารยประเทศนี้เจรจาขอยกเลิกบรรดาสนธิสัญญาเสียเปรียบทั้งหลายเสมอมา ซึ่งการเจรจาก็มิใช่เรื่องง่ายเลย ต้องขอบคุณสหรัฐอเมริกาที่มีน้ำใจกว้างขวางช่วยเหลือสยามในการนี้ทุกเมื่อ และยังได้ส่ง เอดเวิร์ด เฮนรี สตรอเบิล (Edward Henry Strobel) นักการทูตและนักวิชาการด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เข้ามาเป็นกำลังสำคัญให้ไทย ทว่า ประเทศฝรั่งเศสนั้นได้พยายามใช้ชั้นเชิงทางการทูตบ่ายเบี่ยงเลี่ยงหลีกการยกเลิกสนธิสัญญากับสยาม ส่วนประเทศอังกฤษนั้นก็ไม่ใคร่จะให้มีการยกเลิกเช่นกัน แต่ใช้ชั้นเชิงที่แนบเนียนกว่าฝรั่งเศส ทำให้รัฐบาลสยามต้องสู้รบปรบมือทางด้านนโยบายกับสองประเทศนี้เป็นเวลานาน ในที่สุด สยามก็ได้รับเอกราชทางการศาลคืนมาและยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาวต่างชาติเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2481 ภายใต้รัฐบาลของ จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศแปลก พิบูลสงคราม
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจัดทำประมวลกฎหมายจะทำให้ประเทศสยามต้องเปลี่ยนระบบกฎหมายที่รับเข้ามาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จากระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) อันกฎหมายเกิดจากบรรทัดฐานที่ศาลพิพากษากำหนดไว้ หรือที่สมัยนั้นเรียก “วิธีกฎหมายจารีตธรรม” เป็นระบบซีวิลลอว์ (Civil Law System) อันกฎหมายเกิดจากกระบวนการนิติบัญญัติ หรือที่ในสมัยนั้นเรียก “วิธีกฎหมายประมวลธรรม” (Code System) แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา นักกฎหมายไทยยังติดอยู่กับนิติวิธีทางระบบคอมมอนลอว์อยู่มาก ซึ่งบรรดาผู้ยกร่างประมวลกฎหมายเคยตระหนักถึงและแสดงความห่วงใยประเด็นนี้ไว้อยู่แล้ว ดังที่ ชอร์ช ปาดู (Georges Padoux) มีหนังสือถึง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ และพระองค์ก็ทรงเห็นด้วย กับทั้งได้มีลายพระหัตถ์ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2456 กราบบังทูลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานนำหนังสือความเห็นของมองสิเออปาดูซ์ว่าด้วยวิธีจัดการศึกษากฎหมายขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
แลเค้าความเห็นอันนี้ มองซิเออปาดูซ์ได้เขียนยื่นแก่เสนาบดียุติธรรมไว้แล้วแต่รัตนโกสินทรศก 129 แต่หามีผลสำเร็จประการใดไม่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ความสันนิษฐานเข้าใจเอาเองว่าจะเป็นด้วยประชุมแห่งเหตุหลายประการ จะรับพระราชทานสาธกแต่เหตุสำคัญอันหนึ่งว่า จำเดิมแต่รัฐบาลได้ปรารภร่างประมวลอาญาจนถึงได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีผู้ทรงตำแหน่งเสนาบดีในกาลนั้นไม่ทรงเห็นชอบด้วยวิธีกฎหมายประมวลธรรม (Code System) ซึ่งใช้อยู่ในคอนติเนนต์ยุโรป ฝ่ายเธอเป็นเนติบัณฑิตสำนักอังกฤษซึ่งใช้วิธีกฎหมายจารีตธรรม (Common Law System) ความปรากฏในครั้งนั้นอยู่บ้างว่า เธอเอาพระองค์ออกห่างจากการตรวจสอบแก้ไขประมวลอาญา แลได้กราบบังคมทูลพระกรุณาคัดค้านต้นร่างนั้น ถึงแก่ขอให้เลิกกรรมการฝรั่งเศสซึ่งร่างประมวลกฎหมายนั้นเสีย แลอาสาว่าจะควบคุมตั้งกรรมการขึ้นใหม่เพื่อร่างประมวลกฎหมายแพ่งอาญาให้ลงกับทำนองวิธีจารีตธรรม (base on Common Law) ข้าพระพุทธเจ้ายอมรับอยู่ว่า การที่เธอทรงคัดค้านดังนี้นั้นเป็นความจริงใจด้วยมุ่งหมายความเจริญแก่พระนคร การอันนี้ถ้าทำได้สำเร็จจะเป็นอัศจรรย์มิใช่น้อย เพราะว่าการที่จะเอาจารีตธรรมอันเป็นพื้นประเพณีบ้านเมืองมาทำประมวลเป็นบทเป็นหมวดลงได้นั้นมิใช่ง่าย นิติบัณฑิตในสำนักอังกฤษและอเมริกาเองก็ยังแก่งแย่งกัน ยังมิอาจเห็นปรองดองลงกันได้ มิพักต้องกล่าวถึงว่าจะเป็นผลสำเร็จทันตาเห็น
พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ผู้ทรงพระปัญญาญาณหยั่งเห็นกาลใกล้ไกล ทรงพระราชดำริชั่งได้ชั่งเสียในวิธีกฎหมายทั้ง 2 นั้นแล้ว พระราชทานพระราชวินิจฉัยไว้เป็นเด็ดขาดว่า พระราชกำหนดกฎหมายแก่งประเทศเราอันโบราณกระษัตราธิราชเจ้าได้ทรงบัญญัติไว้สืบ ๆ มา มีบทมาตราเป็นลักษณะหมวดหมู่เป็นทำนองเดียวกันกับวิธีกฎหมายประมวลธรรม (System of Codified Law) ซึ่งใช้อยู่ในคอนติเนนต์นั้น ถ้าจะคุมเข้ากันแลผ่อนผันแก้ไขก็จะลงกันได้โดยสะดวก ครั้นเมื่อข้าพระพุทธเจ้ากับกรรมการมีชื่อรับพระราชทานประชุมปรึกษาตรวจสอบแก้ร่างประมวลแพ่งจนจะสำเร็จลงในเดือนธันวาคมนั้น มองสิเออปาดูซ์จึงได้ร้องขอให้ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาพิเคราะห์ถึงวิธีศึกษาวิชากฎหมายว่า บัดนี้ถึงเวลาจำเป็นแล้วที่จะพึงดำริจัดการให้เข้าทำนองวิธีสั่งสอนฝ่ายคอนติเนนต์ คือ กฎหมายประมวลธรรม สำแดงเหตุว่าวิธีทั้ง 2 ผิดกันหลายประการ แลรัฐบาลจะออกประกาศให้ใช้กฎหมายวิธีประมวลธรรมนี้ แต่ผู้พิพากษาตุลาการจะไม่ชำนาญในวิธีนั้นจะบังคับอรรถคดีให้ถูกต้องโดยทำนองมิได้ ย่อมจะบังเกิดเป็นความลำบากใหญ่แก่ราชการศาลสถิตยุติธรรม ข้าพระพุทธเจ้าได้สนทนาปรึกษาด้วยมองสิเออปาดูซ์กับพระยาจักรปาณีเป็นต้น เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า ถึงกาลจำเป็นจะทิ้งรารอไว้ดังนี้มิได้ ควรจะตระเตรียมดัดแปลงการโรงเรียนให้ลงร่องลงรอยกลมกลืนกับทำนองนี้จึงจะทันท่วงที ข้าพระพุทธเจ้าจึงสั่งให้มองสิเออปาดูซ์รวบรวมความเห็นที่ได้เขียนไว้เดิม ตกเติมเพิ่มข้อความลงให้กระจ่างเป็นฉบับเดียวกันมายื่น เพื่อได้นำขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานเรียนพระราชปฏิบัติ
แม้บรรดากรรมการร่างกฎหมายจะแสดงความเป็นห่วงเพียงนั้น แต่อิทธิพลของระบบคอมมอนลอว์ยังส่งผลต่อประเทศไทยมาก ทำให้การใช้กฎหมายไทยเป็นสันเป็นดอนตลอดมา ดังที่ แสวง บุญเฉลิมวิภาศ ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า
ตลอดเวลาที่ผ่านมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ก็ยังคงมีปัญหาในการทำความเข้าใจหลักกฎหมายที่ปรากฏอยู่เบื้องหลังตัวบท การนำหลักกฎหมายคอมมอนลอว์มาตีความประมวลกฎหมายยังปรากฏอยู่ในคำสอนทางตำราและในแนวคำพิพากษาของศาล ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนในหลาย ๆ เรื่องส่งผลโดยตรงให้นักกฎหมายไทยส่วนหนึ่งใช้ประมวลกฎหมายอย่างขาดความเข้าใจที่แท้จริง ในอีกมุมหนึ่ง การรับกฎหมายสมัยใหม่จากตะวันตกและละเลยคุณค่าที่มีอยู่ในกฎหมายไทยเดิม โดยเฉพาะความคิดที่ว่ากฎหมายคือธรรม แล้วหันมายึดถือความคิดแบบ legal positivism ที่ถือว่า กฎหมายคือคำสั่งของผู้ปกครองแผ่นดิน ยิ่งส่งผลโดยตรงให้นักกฎหมายกลายเป็นคนคับแคบ เดินตามผู้มีอำนาจ ตีความตามตัวอักษร คำตอบที่ออกมาในหลายเรื่องจึงไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคม หนักไปกว่านั้นก็คือ การแยกว่ากฎหมายกับความยุติธรรมเป็นคนละเรื่องกัน