ฟอร์ด โฟกัส เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็ก (เซ็กเมนต์-ซีในยุโรป) ผลิตโดยบริษัทฟอร์ดมอเตอร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ออกแบบภายใต้แผนฟอร์ดปี 2000 ของอเล็กซ์ ทรอทแมนซึ่งมีเป้าหมายเป็นรถที่มีความเหมือนกันในทุกตลาดทั่วโลก โดยโฟกัสได้ออกแบบทั้งหมดโดยทีมเยอรมนีและทีมอังกฤษของฟอร์ด ยุโรป โฟกัสได้จำหน่ายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2541 ทำการตลาดต่อจากฟอร์ด เอสคอร์ทและฟอร์ด เลเซอร์ในเอเชียและโอเชียเนีย
ทีมพัฒนาของฟอร์ดได้ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในยุโรปและอเมริกา ถึงความชอบเรื่องรถ เพื่อเป็นตัวช่วยในการพัฒนารถต้นแบบ จนเมื่อรถต้นแบบสำเร็จ ก็ถึงขั้นตอนการเลือกชื่อที่เหมาะสมที่จะตั้งชื่อเป็นชื่อรถ ซึ่งช่วงแรก ทีมนักพัฒนาและพนักงานฟอร์ดส่วนใหญ่ได้ลงคะแนนเลือกให้รถต้นแบบรุ่นใหม่มีชื่อว่า ฟอร์ด บราโว แต่ เฮนรี ฟอร์ดที่ 2 ประธานบริษัท ฟอร์ดมอเตอร์ ในขณะนั้น ได้ตัดสินใจให้รถรุ่นใหม่มีชื่อว่า ฟอร์ด เฟียสตา ตามความชื่นชอบส่วนตัวของเขา ฟอร์ด เฟียสตา เริ่มสายการผลิตอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน พ.ศ. 2519 โดยเริ่มขายในประเทศฝรั่งเศส และเยอรมนี แล้วจึงขยายตลาดไปเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
ฟอร์ด เฟียสตา มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาแบ่งได้ 6 รุ่น ดังนี้
รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2519 – 2526)
ฟอร์ด เฟียสตา รุ่นแรก มีความแตกต่างจากรถ Subcompact รุ่นอื่นๆ ในยุคนั้น ตรงที่การออกแบบนั้นได้นำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เสมือนจริงมาช่วยในการออกแบบ รวมทั้งมีนวัตกรรมที่ทันสมัยและภายในหรูหรากว่ารถ Subcompact รุ่นอื่นๆ (สมัยนั้น อุปกรณ์เสริมความหรูหรามักติดตั้งในรถขนาดใหญ่ ราคาแพง เกรดสูงๆ ไม่ใช่รถ Subcompact) เช่น กระจกนิรภัย, เข็มขัดนิรภัยดึงกลับอัตโนมัติแบบปรับระดับสูง-ต่ำได้ และอุปกรณ์ไล่ฝ้าที่กระจกหลัง, มูนรูฟ (หน้าต่างบนหลังคา เปิดดูดาวได้) ฯลฯ ซึ่งส่วนมากในยุคนั้นอุปกรณ์ประเภทนี้จะมีในรถขนาดกลางขึ้นไป ซึ่งความทันสมัยดังกล่าวได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเฟียสตาเรื่อยมาถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้การออกแบบโดยใช้โปรแกรมช่วย ทำให้สามารถออกแบบรถได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานเพียง 0.42 (ต่ำมากเมื่อเทียบกับรถรุ่นอื่นๆ ในยุคเดียวกัน) ทำให้รถลู่ลม ไม่ต้านลม เครื่องยนต์จึงทำงานเบาลง ส่งผลให้เครื่องยนต์ใช้น้ำมันน้อยลง และยังช่วยให้อัตราเร่งดีขึ้นด้วย โดยเครื่องยนต์รุ่นมาตรฐาน(ลูกสูบเล็กที่สุด) เป็นเครื่องยนต์ 4 สูบ ขนาด 957 ซีซี ให้กำลัง 40 แรงม้า มีอัตราการใช้น้ำมันอยู่ที่ 17.8 กิโลเมตร/ลิตร (ประหยัดมาก แม้เมื่อเทียบกับรถสมัยใหม่) ส่วนเครื่องยนต์ที่ให้แรงมากกว่า ก็จะนิยมรุ่น 1298 ซีซี ให้กำลัง 66 แรงม้า มีอัตราการใช้น้ำมันอยู่ที่ 16.1 กิโลเมตร/ลิตร ใน พ.ศ. 2522 เป็นเวลาเพียง 3 ปี ฟอร์ด เฟียสตา สามารถทำยอดขายสะสมได้ครบ 1 ล้านคัน และครบอีก 1ล้าน รวมเป็น 2 ล้านคันในปี 2524 เป็นยอดขายที่เร็วมาก
รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2526 – 2532)
ฟอร์ด เฟียสตา รุ่นที่ 2 เฟียสตารุ่นที่ 2 มีจุดเด่นคือเครื่องยนต์(เฉพาะเครื่อง 1298 ซีซี) สามารถรองรับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และมีระบบเกียร์อัตโนมัติแบบอัตราทดแปรผันต่อเนื่อง หรือ CVT (รถญี่ปุ่นอื่นๆ เปลี่ยนมาใช้เกียร์ CVT เมื่อประมาณ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา) ส่วนภาพรวมอื่นๆ คือ เครื่องยนต์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แต่ให้กำลังน้อยลงเล็กน้อย
แต่ที่แปลกประหลาดและเรียกความสนใจของเฟียสตาที่เป็นที่กล่าวถึงกันมาก คือ หน้าปัทม์รถ ที่มีรูปร่างประหลาด ปกติ หน้าปัทม์รถแบบทั่วไป เข็มวัดทุกเข็มจะอยู่รวมกันในเบ้าใหญ่เบ้าเดียว แต่เฟียสตารุ่นที่ 2 ในต่างประเทศ เกจ์วัดแต่ละเกจจะอยู่ในเบ้าเล็กๆ เกจ์ละเบ้า ไม่ได้อยู่รวมกัน
รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2532 – 2540) ฟอร์ด เฟียสตา รุ่นที่ 3 เฟียสตารุ่นที่ 3 มีการผลิตรถแฮทช์แบคแบบ 5 ประตูเป็นครั้งแรก (ก่อนหน้านี้มักจะมีแต่แบบ 3 ประตู) เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2532 ก่อนการเปิดตัว 2 เดือน ต้นแบบรถเฟียสตารุ่นที่ 3 จำนวน 250 คัน ได้ถูกส่งมอบไปให้กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ของบริษัท เพื่อเข้าสู่กระบวนการทดสอบรถบนการใช้งานจริง โดยเฟียสตาใหม่ มีระบบควบคุมการหยุด และระบบเบรกป้องกันล้อล็อก ทำให้มีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน ปีแรกหลังการเปิดตัว ฟอร์ดสามารถขายเฟียสตาใหม่ได้ถึง 500,000 คัน และในปีที่สองมียอดขายสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 649,781 คัน และนอกจากนี้ ยังมีการเสริมระบบความปลอดภัย เช่น เปลี่ยนวัสดุที่บุพวงมาลัยให้สามารถดูดซับแรงกระแทกได้ดีขึ้น เพื่อลดการบาดเจ็บจากการที่ศีรษะกระแทกพวงมาลัยหากรถชน, ติดตั้งถุงลมนิรภัยเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน, ตัวถังที่แข็งแรงขึ้นเพื่อป้องกันการกระแทกจากด้านข้าง, เข็มขัดนิรภัยที่มีระบบดึงกลับและปรับความตึงอัตโนมัติ, เบาะคู่หน้าแบบป้องกันการลื่นไถล, ปุ่มฉุกเฉิน กดเพื่อตัดการจ่ายเชื้อเพลิงออกจากถังในทันทีในกรณีเกิดอุบัติเหตุที่อาจมีเชื้อเพลิงรั่วไหล ดังนั้น ถึงแม้เฟียสตาอาจมีความปลอดภัยต่ำกว่ารถรุ่นอื่นๆ เป็นบางรุ่น ก็เป็นธรรมดาของรถขนาดเล็กที่มีความสามารถในการปกป้องผู้โดยสารต่ำกว่ารถใหญ่โดยธรรมชาติอยู่แล้ว แต่ถ้าเทียบกับรถขนาดเดียวกันแล้ว ถือว่า “ปลอดภัยไร้เทียมทาน”
เฟียสตารุ่นที่ 4 ได้รับการออกแบบใหม่ให้มีความโค้งมนรอบขึ้น เหลี่ยมมุมต่างๆ ถูกแทนที่ด้วยลายเส้นโค้ง ทำให้ลู่ลมได้ดีขึ้น ช่องระบายอากาศด้านล่างถูกเปลี่ยนใหม่, มีแผงไฟขนาดใหญ่ขึ้น, ระบบกันสะเทือนด้านหน้าออกแบบใหม่โดยใช้เหล็กเสริมกันโครง, และด้านหลังมีการออกแบบคานบิดใหม่และติดตั้งระบบควบคุมการยึดเกาะ Traction Control เพื่อเพิ่มความสามารถในการทรงตัว, มีการติดตั้งระบบเบรกแบบ ABS 4 Channel, เครื่องยนต์ใหม่ ประหยัดน้ำมันและปล่อยไอเสียในระดับต่ำ จนได้รางวัล รถยนต์สีเขียว ฟอร์ด เฟียสตา รุ่นที่ 4 เป็นรถที่มียอดขายสูงที่สุดในสหราชอาณาจักร 3 ปีซ้อน และมีภาพรวมเป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กที่ขายดีที่สุดในยุโรป เฟียสตารุ่นที่ 5 ออกแบบให้ทันสมัยขึ้นอย่างก้าวกระโดด และมีการติดตั้งถุงลมนิรภัยด้านข้าง ในภาพรวมแล้ว เฟียสตาเริ่มเสื่อมความนิยมลงในแถบยุโรป โดยกลายเป็นรถที่มียอดขายอันดับ 3 รองจาก โอเปิล คอร์ซา (อังกฤษ: Opel Corsa) และ เปอโยต์ 206 แต่ยังได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในประเทศ บราซิล
ฟอร์ด เฟียสตา รุ่นที่ 6 เปิดตัวในงานแฟรงค์เฟิร์ตมอเตอร์โชว์ 2008 และเริ่มขายตลาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ที่ฟอร์ดประเทศไทย ได้นำเฟียสตาเข้ามาผลิตและจำหน่าย โดยในรุ่นนี้ เฟียสตามีตัวถังแบบรถซีดาน เป็นครั้งแรก (ซีดานคือรถทั่วๆไปที่มีกระโปรงหลังและกระโปรงหน้า) ซึ่งฟอร์ดจะขายเฟียสตาทั้งแบบซีดานและแฮทช์แบค และจากการทดสอบความปลอดภัยของเฟียสตาใหม่ ก็พบว่า เฟียสตาใหม่ ปลอดภัยในระดับแถวหน้าของรถเล็ก และยังได้นำรุ่นพิเศษ ที่ให้ถุงลมนิรภัย 6 ลูกและ 7 ลูก (รถ segment นี้ปกติจะมีถุงลมให้ 1-2 จุดเท่านั้น)ระบบ ESP มาจำหน่ายในไทยอีกด้วย เครื่องยนต์มีให้เลือกคือ 1.25, 1.4, 1.6, 1.4 ดีเซล, 1.6 ดีเซล ในประเทศไทยมีให้เลือกเฉพาะ 1.4 และ 1.6 เบนซิน ภายหลังมีการเพิ่ม 1.5 เบนซิน ตัวถังมีให้เลือกคือ 3, 5, 4 และ 2 ประตู van เกียร์มีให้เลือกคือ อัตโนมัติ 4 สปีด, ธรรมดา 5 สปีด, และ 6 สปีด dual clutch PowerShift